1.14.2554

Outstanding Women in Buddhism Awards Ceremony 2011

Outstanding  Women in Buddhism  Awards  Ceremony
Friday, 4 March, 2011  8.00 am - 14.40 pm
Association  for the  Promotion of the Status of  Women APSW
Bangkok, Thailand
                                            *********************

12.20.2553

owbaw 2002

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

วันภิกษุณีไทย

 หัวใจภิกษุณีไทย  กำลังรอคอย
วันภิกษุณีไทย ?

วันสตรีสากลในประเทศไทย

   สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
        และจัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น "วันสตรีไทย" ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว
        ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์, คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และคุณปวีณา หงสกุล ฯลฯ
        วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อักษรดอทคอม

วันสตรีสากล / International Women's Day

          ปัจจุบันเรามักจะเห็นผู้หญิงมีบทบาทในแวดวงต่างๆ ของสังคมมากขึ้น อีกทั้งผู้หญิงสมัยนี้ต่างก็มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และกล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ หลังจากแรงงานหญิงถูกเอารัดเอาเปรียบมาช้านาน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ "วันสตรีสากล" ถือกำเนิดขึ้น วันนี้เราจึงมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ "วันสตรีสากล" มาฝากกันค่ะ

การกำหนดวันสตรีสากล

          วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่ง เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย

ความเป็นมาของวันสตรีสากล

          ประวัติความเป็นมา ของวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400)

          จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

          ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

          อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

          ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

          จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

          ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

คลาร่า เซทคิน ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล